วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

bps และ hertz

bps คืออะไร ?

  bps ย่อมาจาก bits per second คือหน่วยวัดความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเป็นจำนวนบิตในหนึ่งวินาที ว่าในหนึ่งวินาทีรับหรือส่งข้อมูลได้กี่บิต ซึ่ง Bit ถือเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการวัดปริมาณของข้อมูล แต่หากตัวเลขมีค่าสูงมักใช้หน่วยเป็น Kbps (Kilobit per second) หรือ Mbps (Megabit per second)





Hertz คืออะไร ?

     เฮิรตซ์ (อังกฤษ: Hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ (SI) ซึ่งเป็นหน่วยของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือ ความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ :ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ 50 ครั้งต่อ 1 วินาที


หน่วยความถี่อื่น ๆ ได้แก่ เรเดียนต่อวินาที (radian/second, rad/s) และรอบต่อนาที (revolutions per minute, RPM)

ชื่อหน่วยเฮิรตซ์มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ ไฮน์ริช แฮทซ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า

หน่วยเฮิรตซ์ได้กำหนดครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แล้วเริ่มมาใช้แทน หน่วย รอบต่อวินาที (cycles per second หรือ cps) ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) หน่วย Hz ได้ใช้ทดแทนการใช้ cps แทบทั้งหมด


พหุคูณเอสไอสำหรับหน่วยเฮิรตซ์ (Hz)

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Bandwidth

Bandwidth คืออะไร ?





Bandwidth คือ ปริมาณการรับ และการส่งข้อมูล  (Data-Transfer) ของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps, Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps เป็นต้น ซึ่งตัวเลข Bandwidth ที่ได้นี้เป็นพียงตัวเลขทางทฤษฎีที่บอกถึงปริมาณของข้อมูลที่เข้าสู่ซีพียูในแต่ละวินาที ในความเป็นจริง Bandwidth ของระบบจริงอาจมีค่าน้อยกว่าที่คำนวณเพียงเล็กน้อย
     คำว่า Bandwidth นั้นเกิดจาก Band หมายถึง คลื่นความถี่ และ Width หมายถึง ความกว้าง รวมแล้ว Bandwidth คือ ความกว้างของคลื่นความถี่ เปรียบได้กับถนน ยิ่ง Bandwidth สูง การรับส่งข้อมูล เข้า ออก ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพสูง ฉะนั้น การเลือกใช้บริการพื้นที่เว็บไซต์สำเร็จรูป หรือโฮสติ้ง (Web hosting ) เราควรคำนึงถึงส่วนนี้ด้วย เพราะถ้าเลือกไม่ดีในตอนแรก อาจส่งผลเสียหายภายหลังได้ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีจำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์เป็นจำนวนมากต่อวัน หากเป็นไปได้ควรเลือก Bandwidth แบบไม่จำกัด (Unlimited) ทั้งนี้ก็ดูงบประมาณตามความเหมาะสมของเราด้วย
     ข้อมูลที่นับเป็น Bandwidth มีดังต่อไปนี้
1.) Website
2.) Email
3.) Ftp
4.) DirectAdmin

 

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การแปลงสัญญาณ


การแปลงสัญญาณมี 2 วิธีคือ

1.     การแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล

2.     การแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาลอก
 

การแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล
 
Analog to Digital Converter (A/D) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลที่ มนุษย์รับรู้ สัมผัสได้ เป็นข้อมูลทางไฟฟ้า เพื่อป้อนเข้าสู่การประมวลผล จึงเป็นขบวนการหนึ่งของการรับข้อมูล (Input Unit)เป็นกระบวนการอีเลคโทรนิคส์ ที่สัญญาแปรผันต่อเนื่อง (analog) ได้รับการแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยไม่มีการลบข้อมูลสำคัญผลลัพธ์ของ ADC มีลักษณะตรงข้าม คือ กำหนดระดับหรือสถานะ ตัวเลขของสถานะมักจะเป็นการยกกำลังของ 2 คือ 2, 4, 8, 16 เป็นต้น สัญญาณดิจิตอลพื้นฐานมี 2 สถานะและเรียกว่า binary ตัวเลขทั้งหมดสามารถแสดงในรูปของไบนารี ในฐานะข้อความของ หนึ่งและศูนย์
วงจรที่ใช้ในการแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอลมีมากมายหลายชนิด โดยทั่วไปแล้ววงจรแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอล (A/D converters) มีใช้งานอยู่ประมาณ 7 ชนิดคือ
1.   Parallel Comparator, Simultaneous, หรือ Flash A/D converter
2.   Single – Ramp หรือ Single – Slope A/D converter
3.   Dual – Slope A/D converter
4.   Charge balance A/D converter
5.   A/D converters using Counters and D/A converters
6.   Tracking A/D converters
7.   Successive – Approximation A/D converters


Counting Converter


เป็นการแปลงสัญญาณอนาล็อก เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยใช้อัลกอริทึม การนับค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วนำผลที่ได้จากการนับไปเปรียบเทียบกับค่าที่ต้องการที่ตั้งไว้ การแปลงสัญญาณอนาล็อก เป็นสัญญาณดิจิตอล มีประโยชน์มากในการควบคุมอุปกรณ์สวิตชิ่ง ซึ่งมีลักษณะการแปลงสัญญาณได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะมีอัลกอริทึม ความรวดเร็วในการทำงาน และการใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างกันด้วย



ข้อบ่งเฉพาะของการแปลงสัญญาณ A/D (A/D SPECIFICATIONS)


ข้อบ่งเฉพาะจะบอกถึงขีดความสามารถของ converter โดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่หลายคำ เช่น ความแม่นยำ,ความเที่ยงตรง และความเที่ยงตรงเป็นเส้นตรง ซึ่งค่าเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละวงจร แต่มีข้อบ่งเฉพาะอีกข้อหนึ่งที่ไม่ขึ้นอยู่กับลักษณะของวงจรคือ ค่าผิดพลาดระหว่างค่าจริงของสัญญาณอะนาลอก กับค่าของดิจิตอลที่ใช้แทนค่า (ค่าของ Output ของ A/D converter) ซึ่งเรียกว่า Quantizing error จะมีค่าอยู่ประมาณ +1/2 digit ต่ำสุด (LSB)ของการแปลงสัญญาณซึ่งก็เป็นการบ่งถึงความแม่นยำได้อีกทางหนึ่งด้วยค่า พารามิเตอร์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่งสำหรับ A/D converter คือ conversiontime หรือค่าเวลาสำหรับการแปลงสัญญาณ ซึ่งมีช่วงเวลาอยู่ประมาณ 10-9 วินาที ถึง 10-3 วินาที ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของconverterและจำนวน bit




การแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาลอก

Digital to Analog Converter (D/A) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลผลลัพธ์จากการประมวลผลเป็นสัญญาณไฟฟ้า ให้เป็นสัญญาณที่มนุษย์รับรู้ได้ สัมผัสได้ เป็นการแสดงผลข้อมูล (Output Unit)digital-to-analog conversion เป็นกระบวนการซึ่งสัญญาณมีการกำหนดระดับ หรือสถานะจำนวนหนึ่ง ( ปกติ คือ 2 สถานะ) หรือสัญญาณดิจิตอล ให้เป็นสัญญาณที่ไม่จำกัดจำนวนของสถานะ หรือสัญญาณอนาลอก ตัวอย่าง กระบวนการของโมเด็มในการแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ เป็นความถี่เสียง ให้สามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ twisted pair ในวงจรที่ทำงานให้กับฟังก์ชันนี้ เรียกว่า digital-to-analog converter (DAC) โดยพื้นฐาน digital-to-analog conversion ตรงข้ามกับ analog-to-analog conversion ถ้า analog-to-analog converter (ADC) วางอยู่ในวงจรการสื่อสารต่อจาก DAC สัญญาณดิจิตอลส่งออก จะตรงกับสัญญาณดิจิตอลนำเข้า ในกรณีที่ DAC วางอยู่ในวงจรต่อจาก ADC สัญญาณอะนาล๊อกส่งออกจะเป็นตรงกับสัญญาณอะนาล๊อกนำเข้าสัญญาณดิจิตอล แบบ binary จะปรากฏเป็นข้อความขนาดยาว ของ 1 และ 0 ซึ่งจะไม่มีความหมายต่อการอ่าน แต่เมื่อ DAC ใช้ถอดรหัสสัญญาณดิจิตอลแบบ binary จึงปรากฏผลลัพธ์ที่มีความหมาย ซึ่งอาจจะเป็น เสียง ภาพ เสียงดนตรี และกลไกการเคลื่อน



วงจรแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาลอกมี 2 ลักษณะดังนี้

1.แบบรวมกระแส (weighted -resistor)

คุณลักษณะของ D/A แบบรวมกระแส
1.  จะต้องมีตัวต้านทานทุกอินพุทของสัญญาณดิจิตอล
2.  ตัวต้านทานนี้อินพุทของทุกบิทจะมีค่าเท่ากับเอาต์พุตของระดับดิจิตอลสูงสุด
3.  แรงเคลื่อนที่เอาต์พุตเต็มสเกลจะมีค่าเท่ากับเอาต์พุตของระดับดิจิตอลสูงสุด
4.  LSB จะมีน้ำหนักเป็น1/(2n-1) เมื่อ n เป็นจำนวนบิทที่อินพุท
5.  เมื่อ LSB เปลี่ยนแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เอาต์พุตจะเปลี่ยนไป 1/(2n-1) เมื่อ V เป็นระดับสัญญาณดิจิตอล

2.โครงข่ายแบบ R-2R (R-2R network)


การ Convert ค่าจากดิจิตอลเป็นอนาล็อกนั้น สามารถใช้ integrated circuit แปลงได้ แต่ถ้าหากคำนึงถึงเรื่องcostด้วยแล้ว วงจรที่สามารถทำได้และราคาถูกกว่าก็คือ R/2R Network นั่นเอง ซึ่งใช้ op-amp เป็นตัวควบคุม R/2R Network ทำได้จากการนำต่อต้านทานมาต่อดังรูป แต่ละบิตทั้งที่มีค่าเป็น 0 หรือที่เป็น operating voltage นั้นเป็นค่าที่อยู่ในวงจรของตัวต้านทานที่มีค่าเป็น 2 เท่าของrest network ซึ่งแต่ละบิตจะแสดงผลลัพธ์ออกเป็นoutput นั่นเอง จะเชื่อหรือไม่เชื่อว่าNetwork นี้ทำงานได้จริง ใช้เป็น Digital-to-Analog-Converters โดยใช้แค่เพียงตัวต้านทานต่อกันเป็นเครือข่ายตามรูป โดยไม่จำเป็นต้องใช้วงจรรวม integrated circuits แม้แต่วงจรเดียว
      Output จาก AVR port มีค่ากระแสไม่มากนัก เมื่อค่าความต่างศักย์ของมันควรจะมีค่าใกล้ๆศูนย์หรือพอกับ operating voltage ดังนั้นตัวต้านทานจึงควรมีค่าราวๆ 10กิโลโอห์ม เพราะจะทำให้วงจรไม่มีค่ากระแสมากเกินไปนั้นเอง และตัวop-amp เองก็สามารถทำงานกับวงจร R/2R Network ได้


บทที่ 8

Decision support System ? ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  (Decision Support System) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  (Decision Support Sys...