การวางแผนทรัพยากรองค์กร
(Enterprise
Resource Planning: ERP)
หมายถึง
ระบบงานที่ควบคุมการบริหารทรัพยากรภายในบริษัท มีลักษณะของการผสมผสานคือมีการเชื่อมโยงกระบวนการของธุรกิจไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ
ตั้งแต่ระบบจัดซื้อ การวางแผนการผลิต ระบบต้นทุน ระบบบัญชี การจัดการสินค้าคงคลัง
การขายและการกระจายสินค้า ไปจน ถึงการจัดการสินทรัพย์และการบริหารงานบุคคล
ส่วนประกอบของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร(Components of ERP System)
ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรเป็นการเชื่อมโยงแผนและกระบวนการทำงานต่างๆ
ตลอดทั้งองค์กรเข้าไว้ด้วยกันเพื่อส่งเสริมกระบวนการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยสามารถแบ่งประเภทระบบการวางแผนจัดการทรัพยากรเป็นสามกลุ่มที่สำคัญดังต่อไปนี้
1.การเงิน (Financials)
การเงินเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการทำบัญชี
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบันทึก การสรุป การจำแนกประเภท
การรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินของธุรกิจ กระบวนการต่างๆเหล่านี้ถูกดำเนินการมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ
อย่างไรก็ตามระบบการทำบัญชีแบบดั้งเดิมไม่สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงสร้างขององค์กรที่เปลี่ยนรูปแบบไป
คู่ค้าทางธุรกิจ ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเองก็มีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน
2.การผลิตและระบบโลจิสติกส์
(Manufacturing and Logistics)
การผลิตและระบบโลจิสติกส์
เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการไหลเวียนวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จ (Semi Finished Product) และ
สินค้าสำเร็จ (Finished Product) รวมถึง ระบบโลจิสติกส์ ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่ขับเคลื่อนกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทาน
(supply Chain) ตั้งแต่การจัดการซื้อวัตถุดิบไปจนถึงการผลิตและจากการผลิตไปจนถึงการขาย
และกิจกรรมอื่น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อวัตถุดิบ การขนส่งสินค้า การบริหารคลังสินค้า
การจัดการ การวางแผนและการขายล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการขนส่งสินค้า จุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งของการจัดการขนส่งสินค้านั้นเพื่อลดต้นทุนในปัจจัยการดำเนินธุรกิจต่างๆ
การขนส่งสินค้า
สามารถจำแนกออกเป็นสามประเภทได้แก่ การขายและการจัดจำหน่าย การวางแผนการผลิต
และการจัดซื้อจัดจ้างวัตถุดิบ
3.การบริหารทรัพยากรบุคคล
(Human Resource)
ระบบจัดการงานบุคคล(Human Resource System) มีจุดมั่งหมายที่คล้ายคลึงกับระบบบัญชี
และระบบโลจิสติกส์(Logistics) คือเพื่อใช้ทรัพยากรในบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด
การจัดการโซ่อุปทาน (SCM)
คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า
ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย
ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน
SCM มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร
เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ
เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น
ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน
เป็นต้น
การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM)
คือ ศาสตร์หรือกลยุทธ์การบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าแบบหนึ่ง
ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัท สามารถจัดการกระบวนการต่าง ๆ ภายใน ให้ดำเนินการนำเสนอสินค้าหรือบริการได้อย่างสอดคล้องและตอบสนองได้ตรงต่อความต้องการของลูกค้า
เนื่องจากปริมาณคู่แข่งขันในธุรกิจนั้น ๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การแข่งขันก็ย่อมมีความรุนแรงขึ้น
ในขณะที่จำนวนลูกค้ายังเท่าเดิม การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าแบบ CRM จึงเกิดขึ้นเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด นำมาซึ่งความภักดีของลูกค้า
สามารถทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีโอกาสที่จะทำกำไรในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
โดยเป้าหมาย CRM นั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่การบริการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า
ที่มีต่อสินค้าและบริการของเรา เช่น พฤติกรรมการใช้สินค้าตามฤดูกาล พฤติกรรมการใช้สินค้าช่วงวันเสาร์และวันอาทิตย์
พฤติกรรมการใช้สินค้าช่วงกลางวันแตกต่างจากกลางคืนหรือไม่ พฤติกรรมการใช้สินค้าเมื่อต้นปี
แตกต่างจากช่วงกลางปี หรือปลายปีหรือไม่ พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินต่อสินค้าและบริการของเราเป็นอย่างไร
การศึกษาความต้องการของลูกค้าในช่วงระยะเวลาที่ต่างกัน อาจนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น