ระบบวางเเผนทรัพยากรขององค์การ
- ในองกรค์หนึ่งๆ
จะมีหน่วยงานภายในที่เป็นพื้นฐานได้เเก่ เเผนก/ฝ่ายการเงิน เเผนก/ฝ่ายบัญชี
เเผนก/ฝ่ายวัสดุหรือการจัดซื้อ
- เเต่ละหน่วยงานจะมีกระบวนการทำงานที่ทำให้เกิดข้อมูลต่าง
มากมาย เเละข้อมูลจะมีการส่งต่อจากหน่วยงานหนึ่งไปยังหน่วยงานหนึ่ง
ดังนั้นในองกรค์จะมีข้อมูลมากมายที่เเตกต่างกันหรือเหมือนกันโดยเกิดจากหน่วยงานเดี่ยวกัน
- เพื่อให้เกิดการบูรณาการของข้อมูลของเเต่ละหน่วยงาน
จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดกระบวนการทำงานที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดข้อมูที่ซ่ำซ้อนดังนั้นจึงทำให้เกิด
ระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจ
การวางเเผนทรัพยากรมนุษย์ขององกรค์
ระบบสาระสนเทศที่สนับสนุนธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
(Enterprise
Resource Planning) เเบ่งออกเป็น
1.ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2.การบริการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
3.ระบบบริหารห่วงโซ่อุปทาน
การวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning ย่อ ERP)
หมายถึง
การบริหารจัดการภายในองค์กร เนื่องจากมีการแข่งขันกันที่สูง องค์กรต่าง ๆ
จึงต้องมีการพัฒนากระบวนการและข้อมูลทั้งหมด ในองค์กร
เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น
โดยจะมีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) โดยเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง
โดยการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะมีการติดต่อระหว่างสายการผลิตไปจนถึงช่องทางจำหน่ายทั้งนี้เพื่อที่จะลดขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทาน
จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต
โครงสร้างของ ERP แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ
1.
Material Resource Planning (MRP) หมายถึง
ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการจัดทำแผนความต้องการวัสดุ โดยมีองค์ประกอบของข้อมูลนำเข้าที่สำคัญ
3 รายการคือ ตารางการผลิตหลัก แฟ้มข้อมูลบัญชีรายการวัสดุ (Bill
of Material File) และ แฟ้มข้อมูลสถานะคงคลัง (Inventory
Status File)
2.
Customer Resource Management (CRM) หมายถึง
ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและลูกค้า
เพื่อให้เป็นความสัมพันธ์ระยะยาว โดยระบบนี้จะศึกษาพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า
ความสนใจ ความต้องการ
เพื่อให้องค์กรนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และนำสินค้าเสนอต่อลูกค้าให้ใกล้เคียงกับที่ลูกค้าสนใจ
และการบริการหลังการขายแก่ลูกค้า ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด
เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อและแนะนำให้คนรู้จักซื้นสินค้าขององค์กร
3.
Finance Resource Management (FRM) หมายถึง
ระบบสารสนเทศที่เน้นให้บริการเกี่ยวกับการเงินและบัญชี โดยอิงตามกฏระเบียบและข้อบังคับตามที่ประเทศนั้นๆ กำหนด FRM ถือเป็นส่วนประกอบหลักของโครงสร้าง ERP ทั้งหมด
โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลของ FRM มักจะออกมาในรูปแบบรายงาน
ทั้งรายงานสำหรับระดับปฏิบัติการ รายงานสำหรับผู้บริหาร
และรายงานสำหรับหน่วยงานภายนอก เช่น กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร เป็นต้น
4.
Human Resource Management (HRM) หมายถึงระบบสารสนเทศเพื่อการบริการงานทางบุคคล
จัดประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานของพนักงานในองค์กร ข้อมูลพื้นฐานของโครงสร้างองค์กร
การประมวลผลเกี่ยวกับเงินเดือน เป็นต้น
5.
Supply Chain Management (SCM) หมายถึง
ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการกระบวนการไหลของวัสดุ สินค้าตลอดจนข้อมูลและธุรกรรมต่างๆ
ผ่านองค์กรที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้า โดยที่องค์กรต่างๆ
มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน
คุณสมบัติของ ERP ที่ดี
1.
ควรมีความยืดหยุ่น (Flexible) ควรมีความยืดหยุ่น
รองรับองค์กร หากมีการปรับเปลี่ยนในอนาคตได้ อีกทั้งการเก็บข้อมูลควรใช้ฐานข้อมูลกลางเดียวกัน
เพื่อให้สามารถบูรณาการข้อมูลได้
2.
โมดูลควรอิสระจากกัน (Modular) ประกอบด้วยหลายฟังก์ชันการทำงาน
หรือหลายโมดูลดังนั้นควรมีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และอิสระต่อกัน
เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงจะได้ไม่กระทบกับโมดูลอื่นๆ
และต้องรองรับการทำงานได้หลากหลายแพลตฟอร์ม (Platform)
3.
ครอบคลุม (Comprehensive) สามารถรองรับการทำงานได้หลากหลายฟังก์ชัน
เนื่องจากแต่ละองค์กรมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน
ดังนั้นต้องหลากหลายและครอบคลุม
4.
นอกเหนือจากองค์กร (Beyond the Company) สามารถเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศอื่นๆ
ขององค์กรได้ ไม่จำกัดเพียง ERP เท่านั้น
5.
Belong to the Best Business Practices มีกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน
โดยนำกิจกรรมหรือกระบวนการทำงานที่จัดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่องค์กรพึ่งมีไว้ในระบบ
หากแต่องค์กรสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ
ประโยชน์ของ ERP
1.เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเเละการปฏิบัติงาน
2.สร้างระบบเเละกระบวนการทำงานให้ถูกต้องรวดเร็วเพียงครั้งเดี่ยว
3.ลดความซ่ำซ้อนของการเก็บข้อมูล
4.มีศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ
5.เป็นการนำกระบวนการทำงานที่ดีสุดมาใช้ในองค์กร
6.มีความยืดยุ่นในการปรับเปลี่ยน
7.มีระบบควบคุมภายใน
8.ทำให้เกิดรายงานเเละการวิเคราะห์ที่สามารถใช้สำหรับการวางเเผน
9.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ERP software
ERP
sotfware คือ ซอฟต์แวร์ที่มีการรวบรวม
หรือผนวกฟังก์ชันงานทั้งหมดในองค์กร
หรือมีการเชื่อมโยงในส่วนของโมดูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยมีการทำงานในลักษณะแบบเรียลไทม์
และ ERP sotfware จะได้รับการออกแบบมาบนพื้นฐานของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ
(Best Practice) ก็คือมีการกำหนดในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ
ที่มีการทดสอบ และสำรวจมาแล้วว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ไว้ในตัวของ
ERP sotfware โดยที่ ERP sotfware จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรนั้น
ปัจจุบัน
ERP
มีการพัฒนาไปสู่รูปแบบโปรแกรมสำเร็จรูป ERP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์มาตรฐาน
สามารถได้รับการติดตั้งและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ERP sotfware มีหน้าที่รวบรวมส่วนประกอบทางธุรกิจต่างๆ เช่น งานวางแผน (Planning)
งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงานบัญชีการเงิน
(Accounting/Finance) ระบบขายหน้าร้าน POS แล้วเชื่อมโยงส่วนงานต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน
เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน
มีการใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน (Common Processes) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ข้อดีของการรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน
เพื่อให้ข้อมูลเดียวกันสามารถใช้ร่วมกันทั้งองค์กรได้
SAP
คืออะไร ?
SAP ก่อตั้งที่ประเทศเยอรมันนี เมื่อปี 1972 (พ.ศ. 2515)
สํานักงานใหญ่อยู่ที่ Walldorf, Germany โดยการรวมตัวกันของอดีตพนักงานบริษัท
IBM และเจริญเติบโตจนกลายเป็นบริษัท software ที่ใหญ่เป็นอันดับ5ของโลก มีบริษัทที่มีการใช้ SAP
มากกว่า 6,000 บริษัท ใช้มากกว่า 50 ประเทศ ใช้มากกว่า 9,000 site มีส่วนแบ่งในตลาด client/server
software กว่า 31% มีผู้ใช้เพิ่ม 50% ต่อปี มียอดขาย SAP R/3 เพิ่มขึ้น 70% ต่อปี เป้าหมายธุรกิจในเริ่มแรก เน้นลูกค้าที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Enterprise-scale)
แต่ในปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปที่ลูกค้าขนาดเล็กและขนาดกลาง
SAP คือ
โปรแกรมที่ช่วยจัดการสายงานทุกสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ
สามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจได้
และผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลสถานะของบริษัทได้
โดยทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรขององค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ซึ่ง SAP จัดเป็น ERP ประเภทหนึ่งนั้นเอง การทำงานในปัจจุบันจะเป็น R/3 (ทำงานแบบ
Client/Server) โดยในส่วน Application ทั้งหมดของระบบ
SAP นั้น ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษา ABAP หรือ
Advance Business Application Programming (ABAP/4 ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมในยุคที่
4 หรือ 4GL เป็นคำที่เรียกใน SAP
Release 3.0 ส่วนใน SAP Release 4.0 เป็นต้นไป
จะเรียกว่า ABAP เนื่องจากมีการพัฒนาภาษาโปรแกรม ABAP
เป็นแบบ Object-Oriented มากขึ้น) ในส่วนของ Run
Time หรือ Kernel ของระบบ SAP นั้นถูกพัฒนามาจากภาษา C/C++ ในส่วนของการ Implement
ระบบ SAP นั้น จะมีการทำ Customization
หรือ Configuration (จริงๆแล้วก็คือการกำหนดค่า
Parameter ต่างๆ) ผ่านทาง Implementation Guide (IMG)
เพื่อให้ระบบงาน SAP ทำงานได้กับองค์กรนั้นๆ ซึ่งก็คือ
SAP เป็น ERP Software Package ที่มีการทำงานในส่วนของ
Customization ในระบบ SAP ให้เข้ากับหน่วยงานนั้นๆได้
ความสามารถในการทำงานของ SAP ?
SAP ได้ออกแบบมาให้รองรับการดำเนินงานของธุรกิจ หรือหน่วยงาน ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย ง่ายต่อการใช้งาน อาทิเช่น
- 1.การจัดทำเหมืองข้อมูล
- 2.การจัดทำคลังข้อมูล
- 3.ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) Integration Business Planning แล้วส่งต่อข้อมูลไปในระบบ ERP ซึ่งสามารถดูผลผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์
- 4.การทำ Strategic Management, Balance Score Card การติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI) การวิเคราะห์แนวโน้ม การวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน อดีตและอนาคตขององค์กร
- 2.การจัดทำคลังข้อมูล
- 3.ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) Integration Business Planning แล้วส่งต่อข้อมูลไปในระบบ ERP ซึ่งสามารถดูผลผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์
- 4.การทำ Strategic Management, Balance Score Card การติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI) การวิเคราะห์แนวโน้ม การวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน อดีตและอนาคตขององค์กร
ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
: CRM
)
CRM
ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือเรียกว่า
การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
โดยการใช้เทคโนโลยีและการ ใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย
ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของ ธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก
การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด
เป้าหมายของ
CRM
นั้นไม่ได้เน้นเพียงแค่การขายและการบริการลูกค้าเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ
รวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป
ประโยชน์ของ CRM
1.
มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ
ได้แก่ Customer
Profile, Customer Behavior
2.
วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3.
ใช้กลยุทธ์ในการตลาด
และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4.
เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5.
ลดการทำงานที่ซับซ้อน
ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน
เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ
ประเภทของ CRM
ประเภทของ crm ผ่านทางการสนัสนุนของ IT
เเบ่งเป็น
1.Operational CRM เป็นซอฟท์แวร์ front
office ที่ใช้ช่วยจัดการกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
ไม่ว่าจะเป็น sales, marketing หรือ service เช่น การจัดการข้อมูลติดต่อลูกค้า การเสนอราคา การบริหารฝ่ายขาย
การเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ระบบบริการลูกค้า เป็นต้น
2.Analytical CRM ระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่รวบรวมได้จากส่วน Operational CRM หรือจากแหล่งอื่นๆ
เพื่อแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มและค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่บริษัทสามารถนำเสนอสินค้า
หรือบริการเพิ่มเติมได้
3.Collaborative CRM ระบบช่วยสนับสนุนในการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น
ติดต่อส่วนตัว จดหมาย แฟกซ์ โทรศัพท์ เว็บไซต์ E-Mail เป็นต้น
รวมถึงช่วยจัดการทรัพยากรที่บริษัทมีคือพนักงาน กระบวนการทำงาน และฐานข้อมูล หรือ Database (ดาต้าเบส) ลูกค้า
เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าของบริษัทได้ดีขึ้น
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศนำมาใช้ใน
CRM
เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานต่อไปนี้
1.ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Market Automation) เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะบุคคล
(Personalization) ประวัติลูกค้า (ประเภทของสินค้าที่ซื้อ
จำนวนมูลค่าในการซื้อ ความถี่ในการซื้อ) การตลาดทางไกล (Tele-Marketing) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เป็นการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมให้กับลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม
การใช้เทคนิคการชุดค้นข้อมูล (Data Mining) จะช่วยในเรื่องของการวิเคราะห์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.การขายอัตโนมัติ (Sales automation) กระบวนการขายเป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าไปสู่มือลูกค้า หรือการให้บริการกับลูกค้า กระบวนการจะเริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูลของสินค้าและราคา ลักษณะเด่น การจัดสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า การต่อรองราคา การตรวจสอบวงเงินของลูกค้า การทำสัญญา และการบริหารสัญญา ระบบการทำงานร่วมกันเป็นทีม การนำเทคโนโลยีมาใช้จะทำให้ผู้ขายสามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้า ลูกค้า ติดต่อกับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ทั้งในที่ทำงาน หรือแม้ในขณะที่อยู่กับลูกค้า
2.การขายอัตโนมัติ (Sales automation) กระบวนการขายเป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าไปสู่มือลูกค้า หรือการให้บริการกับลูกค้า กระบวนการจะเริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูลของสินค้าและราคา ลักษณะเด่น การจัดสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า การต่อรองราคา การตรวจสอบวงเงินของลูกค้า การทำสัญญา และการบริหารสัญญา ระบบการทำงานร่วมกันเป็นทีม การนำเทคโนโลยีมาใช้จะทำให้ผู้ขายสามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้า ลูกค้า ติดต่อกับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ทั้งในที่ทำงาน หรือแม้ในขณะที่อยู่กับลูกค้า
3.บริการ (Service) เป็นงานให้บริการลูกค้า ได้แก่
ระบบ call center การตอบคำถามของลูกค้า การบริหาร Workflow
การโต้ตอบผ่านระบบ IVR (Interactive Voice Response) ศูนย์บริการ การจัดทำเว็บไซต์ เพื่อให้บริการดาวน์โหลดไฟล์ รับ
แจ้งปัญหาการให้ข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยีที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ได้แก่
คลังข้อมูล
(Data
Warehousing) เป็นการรวมฐานข้อมูลหลายฐานจากระบบปฏิบัติการเช่นระบบขาย
ผลิต บัญชี มาจัดสรุปใหม่หรือเรียบเรียงใหม่ตามหัวข้อต่างๆ
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ข้อมูลจะเก็บในลักษณะสรุป
ประวัติการทำธุรกรรม และแนวโน้มต่างๆ เช่นรูปแบบทางธุรกิจ ยอดขาย
การเติบโตทางเศรษฐกิจ
การขุดค้นข้อมูล
(Data
Mining and OLAP) เป็นเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ที่ดึงข้อมูล
และวิเคราะห์จากข้อมูลปฏิบัติการ จากระบบฐานข้อมูลต่างๆ
เพื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ การหาพฤติกรรมของลูกค้า
เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น
รวมทั้งการแบ่งแยกตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ
การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
(Internet
Technology) เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเช่น
การใช้ เว็บเทคโนโลยี การใช้ e-mail การใช้ระบบส่งข้อความ (Instant
messaging) เช่น MSN messenger หรือ ICQ
ระบบศูนย์บริการลูกค้า
(Call-center)
การใช้ระบบ PC telephony รวมถึง Internet
telephony ซึ่งเป็นการรวมระบบโทรศัพท์เข้ากับระบบงานต่างๆ เช่น
ฐานข้อมูลของลูกค้า การขาย การเงิน และผลิตภัณฑ์
เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว
ระบบโทรศัพท์มือถือ
ความสามารถที่เพิ่มขึ้นของโทรศัพท์มือถือ
ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งในรูปแบบของ ภาพ เสียง ข้อมูล ภาพเคลื่อนไหว
เนื่องจากจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งที่มีอยู่และอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้โทรศัพท์มือถือ
มีบทบาทสำคัญในการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
E-CRM
หมายถึง กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทาง Internet มีการผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยี บุคลากร
และกระบวนการขายสินค้าหรือบริการเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า
รักษาลูกค้าไว้และสร้างกำไรสูงสุดจากลูกค้า
การนำ E-CRM
มาใช้ให้ประสบความสำเร็จอาจเเบ่งกลุ่มเทคโนโลยีหลักได้ดังนี้
1.เทคโนโลยีการจัดการฐานข้อมูล (Database Technology) ใช้สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก
2.เทคโนโลยีที่สามารถโต้ตอบได้ (Interactivity) เช่น
เว็บไซต์ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร
ที่ลูกค้าสามารถติดต่อกับบริษัทได้ทันทีที่มีปัญหา หรือต้องการคำแนะนำ
3.เทคโนโลยีการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานเดียวกันเป็นจำนวนมาก แต่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Mass
Customization Technology) เพื่อให้บริษัทเสนอขายสินค้าและบริการแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของลูกค้า
4.เทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม (Telecommunication) เพื่อตอบสนองด้านการติดต่อสื่อสาร
คุณสมบัติที่ดีของ E-CRM
-ความสามารถในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
-การอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการรับข้อมูลที่ตัวเองสนใจ
-ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ระบบการบริหารห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain Management: SCM )
การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) นั้นเป็นการนำกลยุทธ์
วิธีการ แนวปฏิบัติ หรือทฤษฎี มาประยุกต์ใช้ในการจัดการ การส่งต่อ วัตถุดิบ สินค้า
หรือบริการจากหน่วยหนึ่งในโซ่อุปทาน (Supply Chain) ไปยังอีกหน่วยหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีต้นทุนรวมในโซ่อุปทาน (Supply Chain) ต่ำที่สุด
และได้รับวัตถุดิบ สินค้า หรือการบริการตามเวลาที่ต้องการ พร้อมกันนี้
ยังมีการสร้างความร่วมมือกันในการแบ่งปันข้อมูล ข่าวสาร ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม
เพื่อให้ทราบถึงความต้องการอันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการส่งต่อของวัตถุดิบ
สินค้า หรือการบริการนี้ นำไปสู่การได้รับผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายด้วย
ประโยชน์ของการบริหารห่วงโซ่อุปทาน
1. เสริมสร้างความสามารถในการบริหารและการแข่งขันของสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน
2. ส่งเสริมการเติบโตและความยั่งยืนของธุรกิจ
3. สมาชิกในห่วงโซ่อุปทานปรับระบบการทำงานให้สอดคล้องกัน
4. แบ่งปันข้อมูลที่จำเป็นเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน
5. ใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน
แนวคิดการบริหารโซ่อุปทาน
1.
เปลี่ยนจากการทำงานตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละผ่ายเป็นการทำงานร่วมกันเป็นกระบวนการ
2.
เปลี่ยนเป้าหมายที่กำไรเป็นการทำงานที่มีเป้าหมายหลายด้าน
3.
เปลี่ยนจากการมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์เป็นการมุ่งเน้นลูกค้า
4.
รักษาปริมาณสินค้าคงคลังในระดับที่เหมาะสม
และสามารถสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้สูงที่สุดโดยใช้ระบบสารสนเทศเชื่อมโยงและแจ้งข้อมูลได้ทันที
5.
สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยธุรกิจต่างๆ
ประกอบการติดต่อด้วยสัญญาทางการค้า ใบสั่งสินค้า หรือการเจรจาทางการค้า
องค์ประกอบของการบริหารห่วงโซ่อุปทาน
1.
ความไว้ใจซึ่งกันและกัน (Trust) อันนี้เป็นปัจจัยหลักและสำคัญมากที่สุด
จำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นมา
ในอดีตผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกันนั้นมักมีความไว้วางใจกันสูง
ความไว้วางใจในอดีตนั้นมักเกิดในรูปของคุณภาพสินค้าและเครดิต
แต่ปัจจุบันจะอยู่ในรูปของการแลกเปลี่ยนความคิด แผนงาน ตลอดจนข้อมูลการค้าที่สำคัญ
และมีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน
ความเสียหายหรือต้นทุนที่เกิดจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะส่งผลต่อคู่ค้าและผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่รายอื่นๆด้วย
2.
การร่วมใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน (Information Sharing) หากคู่ค้ายินยอมให้ใช้ข้อมูลการค้าร่วมกันหรือเป็นข้อมูลชุดเดียวกันแล้ว
จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในเรื่องของเวลา (Time) และต้นทุน
(Costs) คือสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของ Lead
Time, Order Fulfillment ขณะเดียวกันก็สามารถลดต้นทุนในเรื่อง
Inventory ได้ นอกจากนี้ต้นทุนวัตถุดิบและสินค้าที่ผ่านมาในแต่ละขั้นตอนก็สามารถลดลงได้โดยอาศัยข้อมูลพยากรณ์
ที่คู่ค้านำมาใช้ร่วมกันเพื่อการวางแผนการผลิตและการจัดส่ง
3.
คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน (Quality of Shared Information)
คุณภาพของข้อมูล โดยทั่วไปหมายถึงความถูกต้อง (Accuracy) และความทันต่อเวลา (Timeliness) ข้อมูลนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย
หากเป็นข้อมูลที่ขาดความถูกต้องแม่นยำและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ
ต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัยและสามารถเรียกใช้ได้ทันเวลาตามต้องการ
นอกจากความถูกต้องและทันเวลาแล้ว ยังเป็นเรื่องของประเภทและระดับของข้อมูลที่ใช้
หากต้องการปรับปรุงในเรื่องของ Inventory ข้อมูลสำคัญและเกี่ยวข้องคือ
การพยากรณ์ (Forecast) แผนการตลาดและการส่งเสริมการตลาด,
ข้อมูลสินค้าล้าสมัย, ข้อมูลสินค้าที่จะแนะนำเข้าสู่ตลาด,
ข้อมูลสินค้าและบริการของคู่แข่ง เป็นต้น
โดยข้อมูลเหล่านี้จะต้องอยู่ในระดับที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้
4.
เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Information and Communication
Technologies)ปัจจัยทั้งสามข้อที่ได้กล่าวมา
จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากการนำเอาเรื่องของไอซีทีมาใช้ ความจริงเรื่องของ Collaboration
มีการพูดถึงมานานแล้ว แต่องค์กรธุรกิจต้องใช้เวลาในการติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อให้พร้อมทั้งตนเองและคู่ค้า
ช่วงเวลาดังกล่าว อินเทอร์เน็ตถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่
ทั้งระบบสื่อสารก็ยังมีจำกัดและมีราคาค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนา ทว่าในปัจจุบัน
การขยายตัวทั้งในส่วนของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและ Bandwidth ทำให้แนวโน้มอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตลดลงและเป็นที่นิยมแพร่หลาย
อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเสมือนเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมองค์กรต่างๆเข้าด้วยกัน
ทำให้การสร้างกระบวนการ “Collaboration” สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น